Duangnet Choeyprasert (Khru Joy's Blogger)

Pre-Study

Group 2 - Duangnet Choeyprasert
IT/ICT Innovation (จากบทความ รองศาสตราจารย์ ยืน  ภู่สุวรรณ)
1. กลยุทธ์การเรียนการสอนยุคใหม่
http://hr.payap.ac.th/KM/docs/km54/03.pdf   
จากการอ่านและศึกษารายละเอียดจากบทความเรื่อง "กลยุทธ์การเรียนการสอนยุคใหม่" จะพบว่า นวัตกรรมได้เข้ามามีผลและเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนยุคใหม่มากขึ้น เนื่องจาก สภาพสังคมปรับเปลี่ยนเร็ว เทคโนโลยีพัฒนาอย่างรวดเร็ว การค้นพบและองค์ความรู้ขยายตัวเร็วมาก, Wikipedia เติบโตเพียง 6-7 ปี แต่มีเรื่องราว และสาระต่างๆที่ผู้คนสามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดายมากมายกว่าสิบล้านเรื่อง รวมถึงโมเดลการเรียนรู้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการสอนเป็นการเรียนรู้ อีกทั้งการเข้าถึงความรู้สามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดายเพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส ไม่ต้องจดจำด้วยตนเอง 

จากเทคโนโลยีที่มีพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดการเรียนรู้ผ่านครูแค่ 3 คน ได้แก่ อากู๋, น้องวิกี้ และ อีตูป (ซึ่งนั่นก็คือ google, wikipedia and youtube นั่นเอง) นอกเหนือจากการเข้าถึงความรู้ได้อย่างง่ายดายทำให้มีการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงผ่านหน้าจอของ คอมพิวเตอร์ แท๊บเล็ต (ที่มีการเปรียบเทียบกับกระดานชนวนในสมัยก่อน) สมาร์ทโฟน ไอแพด และยังต่อยอดไปถึง convertible notebook ที่ใช้จอสัมผัสวางซ้อนแป้นพิมพ์ได้

เกิดอาณาจักรยุคดิจิตอล เกิดนวัตกรรมการเรียนรู้แบบการใช้เครื่อข่ายไร้สาย เชื่อมต่อแบบไร้สายหรือทางพอร์ต usb , ระบบอินพุต สัมผัสที่หน้าจอแทนแป้นพิมพ์, มี accelerometer ตรวจจับการเคลื่อนไหว บางเครื่องมีแป้นพิมพ์ ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่จากการพัฒนารูปแบบของเทคโนโลยี ในการเก็บข้อมูลที่เป็นจำนวนมาก ไว้ที่ Cloud, ช่วยให้เข้าถึงความรู้ได้ง่ายและต้นทุนต่ำ, เกิดการสื่อได้สองทิศทาง เชื่อมต่อได้ง่าย

2. Life and Digital Culture
http://premsurat19260.tumblr.com/post/58707513280/life-and-digital-culture
จากการศึกษารายละเอียด พบว่่า การเผชิญหน้ากับความท้าทายด้วยนวัตกรรรมทางเทคโนโลยีที่อุบัติขึ้นใหม่ ทำให้การใช้ชีวิตกลับทิศ เปลี่ยนทิศทาง โดยในอนาคต การแสวงหาความรู้ในยุคใหม่ของกูเกิ้ลจะใช้ Knowledge graph เพิ่มประสิทธิภาพระบบการค้นหาของกูเกิ้ลให้ง่ายขึ้น สามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้คนหาต้องการค้นหาอะไร, มีการเก็บข้อมูลข่าวสารบน cloud มากกว่าเก็บไว้ในสมอง ทำให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองผ่านคลาวด์, การอ่านหนังสือพิมพ์ อ่านผ่าน e-book, เกิดสื่อต่างๆ ด้านงานวิชาการบน cloud โดยมีแท๊บเล็ตเป็นช่องหน้าต่างสู่คลาวด์ และเทคโนโลยีบนกระจก Google glass กล่าวคือ เทคโนโลยีอุบัติใหม่ทำให้เกิด Digital Culture, แผนที่ สิ่งของ ระบบเครือข่าย การทำงานแบบอัตโนมัติ เชื่อมต่อกันเป็น Internet of Things, ทำให้การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์มีสูงมาก มี Visibility (มองเห็นได้มากกว่า) และ Accessibility (การเข้าถึงข้อมูลได้มากกว่า)

มีความสัมพันธ์ในองค์กรและนอกองค์กร แบบ Social network และเทคโนโลยีทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างกัน (Connectivism) จาก Centralized สู่ Decentralized ทำให้คนรุ่นใหม่ มีลักษณะพิเศษแบบ Parallelism (ทำหลายๆอย่างพร้อมกัน) เกิดวิวัฒนาการ เกิดสังคมดิจิตอล ทำให้เข้าสู่ Virtual mode รวมทั้งเกิดวงศ์ดิจิตอล (Digital Species) เกิดการแข็งขัน มีการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา เช่น เผ่าพันธุ์ 3G, iPod, ZIP, iPhone, blue ray, wii, PS3, XBOX, etc คือเผ่าพันธ์มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกับดิจิตอล

3. The Challenges facing of emerging technology in new learning model
http://202.29.13.241/stream/nec2013/nec2013keynote2August5.pdf   
จากการศึกษารายละเอียด พบว่่า นวัตกรรมและการเรียนรู้ภายใต้สิ่งแวดล้อมใหม่ๆ  เกิดพลวัตทางเทคโนโลยีทำให้การศึกษาเปลี่ยนรูปแบบ แท๊บเล็ต:ช่องทางหน้าต่างสู่คลาวด์ และเกิดเทคโนโลยีบนกระจก เกิด Digital Culture 

การสร้างเทคโนโลยีที่อยู่บนกระจก เริ่มจาก แท๊บเล็ต สู่จอภาพที่มีขนาดใหญ่ขึ้นอยู่บนจอกระจก จากหนังสือ สู่ e-book รวมทั้ง google glass (ข้อมูลข่าวสารที่เรียกได้ทันที รู้ทุกที่ที่อยู่บนโลก มีแผนที่ Augmented reality กับการเรียนรู้บน Cloud

เกิดการพัฒนาไปสู่ Big Data คือ ข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มากๆๆ มากกว่าที่ทำเป็นฐานข้อมูลกันทั่วๆไป ที่จะใช้ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลธรรมดาเข้าไปจัดการ จัดเก็บบริหารได้ อีกทั้งความท้าทาย อินเตอร์เน็ตของสิ่งของ (Internet of Things), ความท้าทายที่ต้องเข้าสู่ IPv6, ความท้าทายเชิงขนาดการเชื่อมต่อ สื่อถึง เทคโนโลยีทำให้พลังแห่งการเรียนรู้แบบสร้าสรรค์มีสูงมาก มี Visibility และ Accessibility สูงขึ้นมาก

เกิด Knowledge Cloud, Computational Knowledge Engine เป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้, เกิด เครื่องคำนวณแบบ Symbolic Mathematic, เครื่องช่วยคำนวณแบบ Numerical Mathematics, เกิดทฤษฏีการเรียนรู้แบบ Connectivism-Learning Theory เป็นการสร้างการเรียนรู้ให้สนุกอย่างเกมส์ Gamification for Education, เกิดการศึกษาเพื่อสร้างความเข้าใจใน Cloud learning, Outcome Based Education, Open Education Resources, แนวการใช้ Gamification, รวมไปถึงการจัดการแบบ MOOC - A massive open online course เพื่อรองรับการศึกษาในโลกดิจิตอล เป็นต้น

By Group2 - Duangnet Choeyprasert


3 comments:

  1. เห็นด้วยว่าในปุจจุบันนี้เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องผู้เรียนสามารถเข้าถึงเรื่องที่เรียนได้ง่ายขึ้น การเรียนรู้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการสอนเป็นการเรียนรู้ ผู้สอนเองก็ควรจะใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์

    ReplyDelete
  2. หากเทคโนโลยีพัฒนาไปเรื่อยๆ นักเรียนอาจจะไม่ต้องแบกหนังสือไปเรียนแล้วก็ได้นะคะ เปลี่ยนไปอ่านใน e-book แทนค่ะ แต่สิ่งสำคัญผู้ที่คิดจะทำก็ควรพิจารณาถึงข้อดี-ข้อเสียก่อนนำไปใช้กับนักเรียน เพื่อให้การพัฒนาเกิดประโยชน์อย่างสูงสุดนะคะ

    ReplyDelete
  3. ใช่ค่ะ สิ่งสำคัญคือ คุณครูผู้ถ่ายทอดสิ่งที่เหมาะสมให้เหมาะกับสไตล์การเรียนรู้ของผู้เรียน

    ReplyDelete